ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ หลายคนมักจะหยุดพักผ่อนทำกิจกรรมภายในครอบครัวหรืออยู่กับบ้าน ดูทีวี.. ส่วนตัวผมนั้น คิดว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุด คือการได้อยู่กับธรรมชาติ(out door) ในชุมชนที่ใกล้เคียง เช่น สวนสาธารณะ หรือริมโขง เป็นต้น.
ช่วงกลางวัน ในการไปพักผ่อนที่ริมโขงนั้น บางครั้งสภาพการณ์ไม่มีลมอากาศหรือให้ความรู้สึกร้อน ไม่สบายกายเท่าไรนัก คนส่วนใหญ่จะมาเที่ยวพักผ่อน ในช่วงตอนเย็นเท่านั้น อีกสถานที่หนึ่ง ที่ผมคิดว่าเหมาะสมในการพักผ่อนในช่วงกลางวัน คือ ไปสวนสาธารณะ ที่ทำให้รู้สึกว่าสบายกาย(และสบายใจ) นำหนังสือดีๆสักเล่มไปอ่าน หาสมุดไดอารี่เขียนบันทึกงานวางแผนชีวิต ทั้งเรื่องการลงทุนและเรื่องงาน หรือจะพกพาวิทยุโทรศัพท์ พร้อมหูฟังดีๆ ไปฟังข่าวชุมชนในระบบออฟไลน์ ก็ดีไม่ใช่น้อย..
ที่สวนสาธารณะที่ผมกล่าวถึงนี้ ชื่อสวนสาธารณะ ร.๙ ที่ จ.นครพนม มันมีความน่าสนใจคือ ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงเกือบ 30 ล้านบาท มีลักษณะเป็นสวนป่า มีต้นไม้ใหญ่ และมีแอ่งน้ำล้อมรอบ บางจุดก็คล้ายกับเกาะ มีศาลานั่งหรือนอนพักผ่อน ที่บริเวณล้อมรอบสาธารณะ มีเส้นทางให้คนเดิน วิ่งออกกำลังกาย หรือปั่นจักรยานก็ได้..





จากที่ผม ไปเที่ยวสวนสาธารณะแห่งนี้บ่อยๆ จึงถือโอกาสฝึกฝนเรื่องการถ่ายภาพ ในช่วงมีโอกาสมาพักผ่อนในช่วงแรกๆ..
ถ้ากล่าวกันถึงเรื่องช่วงเวลาของการถ่ายภาพที่ดีหรือเหมาะสมนั้น ได้กำหนดช่วงเวลาในช่วงเช้า คือ 8.00-10.00 น. ส่วนช่วงเย็นที่เหมาะสมนั้น คือ 15.00-17.00 น. เพราะช่วงในเวลาดังกล่าวเหล่านั้น จัดว่าเป็น ประเภทแสงนุ่ม (Soft Light) ที่มีลักษณะเงาแสงอ่อน จึงเหมาะสมกับกับถ่ายภาพบุคคล และถ่ายภาพวิวทิศทัศน์ เป็นอย่างยิ่ง.
ความคิดนอกกรอบ กับการถ่ายภาพในช่วงกลางวันแสงแดดจ้า ที่ช่วงเวลาไม่เอื้ออำนวยนั้น ผมจึงคิดอยากถ่ายภาพ ให้มีในองค์ประกอบและมีมิติในรายละเอียดให้มากขึ้น เท่าที่จะทำได้ โดยที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องหรือพยายามเอาชนะข้อจำกัดอุปสรรค ประเภทแสงแข็ง(Hard Light) ว่าซะงั้นแหล่ะ และหลักการถ่ายภาพกลางวันที่มีแสงจ้านั้น กำหนดไว้ว่า ต้องใช้ระดับความไวของแสงต่ำ ที่ระดับ 100 จึงจะเหมาะสม เขาว่าอย่างนั้นนะ.
ตัวอย่างภาพถ่าย กรณีที่มีข้อจำกัดในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม แต่ก็สามารถถ่ายภาพให้สวยดูดีได้ โดยใช้หลักของเงาแสง ดังนี้.







ส่วนภาพถ่ายช่วงกลางวันที่มีแสงจ้า กรณีที่ไม่ใช่สวนสาธารณะ ก็สามารถถ่ายภาพให้สวยได้ เช่นเดียวกัน..









ความคิดเห็นต่อบทความ
ความเห็นบน MagGang(0)
ความเห็นบน Facebook()